วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำว่าเป็นกลางของสื่อคืออะไร

จากเหตุการณ์เสื้อแดงหรือการก่อการร้ายที่ผ่านมาสังเกตุได้ว่า สื่อบางสื่อรายงานฝ่ายเดียวบางสื่อคือเสื้อแดง บางสื่อคือรัฐบาล บางสื่อก็ชี้นำ ตกลงอะไรคือเป็นกลาง รบกวนขอความคิกเห็นจากผู้รู้ด้วยครับ เป็นวิทยาทาน

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ฮาดิษเกี่ยวกับการศึกษา


ปัจจุบันนี้ เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นยุคสมัยของข้อมูลข่าวสาร เป็นยุคที่การสื่อสารไร้ขีดจำกัด เป็นยุคดิจิตอลหรือยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ล้วนเป็นผลมาจากความสามารถของมนุษย์ ในการประดิษฐ์ คิดค้นสิ่งต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน โดยผ่านการเรียนรู้และการพัฒนามาเป็นช่วงๆ ผ่านแต่ละยุคสมัยมาจวบจนปัจจุบัน สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดจาก การศึกษาค้นคว้า มิใช่เกิดจากความบังเอิญ
ดังที่ท่านนบีมุฮำหมัด ศอลฯ กล่าวไว้
إِنَّمَا الْعِلْمُ بِالتَّعْلِم

รายงานโดยบูคอรี,มุสลิมความว่า “ แท้จริงแล้วความรู้นั้นเกิดขึ้นมาด้วยกับการศึกษา “
การศึกษาเป็นสุดยอดของสิ่งที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา เป็นอาวุธสำคัญที่จะนำพาเราไปสู่แสงสว่างในการดำเนินชีวิต เป็นแสงสว่างนำพาให้เราพ้นจากความมืดมิดแห่งความโง่เขลา ทำให้เราพ้นจากการตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่ประสงค์ร้าย ท่านทั้งหลายคงรู้จักกับคำพูดที่ว่า “คนโง่ ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาด” แต่คนฉลาดจะไม่สามารถเป็นผู้ที่ฉลาดปราดเปรื่องได้เลย ถ้าเขาไม่ได้ศึกษา และคนโง่ ก็จะไม่เป็นผู้ที่โง่เขลาตลอดกาล หากเขารักที่จะศึกษาและใฝ่หาความรู้อิสลามได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมากมาย ถึงกับระบุว่า การศึกษาเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น เป็นหน้าที่ของเราทุกคนในการที่จะแสวงหามัน ดังที่ท่าน นบีมูฮำหมัด ศ็อลฯ ได้กำชับพวกเราว่า

طَلَبُ العِلْمِ فَرِيصَةُُ عَلَي كَلِّ مُسْلِمْ وَمُسْلِمَة

รายงานโดยอิบนิมาญะฮ จากอะนัสความว่า “ การ แสวงหา ความรู้นั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นเหนือมุสลิมชาย และมุสลิมหญิงทุกคน”
จากฮาดิษนี้ บอกไว้ชัดเจนว่าการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นแก่ บุคคลทุกคน ทุกเพศทุกวัย และการศึกษาตามทัศนะของอิสลาม ไม่ได้จำกัดที่อายุของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ในการที่เขาจะใฝ่หาความรู้

اُطْلُبُو الْعِلْمِ ِمنَ الْمَهْدِ اِلَي الْلَحْدِ

รายงานโดยตัรมีซีความว่า “ท่านทั้งหลายจงศึกษาหาความรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมศพ”
ฮาดิษนี้ได้ยืนยันอีกครั้งว่า การศึกษาไม่มีวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก จะเป็นหนุ่มหรือสาว หรือจะเป็นคนชราที่ มีอายุเยอะแล้ว พวกเขาย่อมที่จะศึกษาหาความรู้ได้ซึ่งเราในฐานะครูอาจารย์ก็เช่นกัน ถึงจะอายุมากจะแก่ชราขนาดใหนการศึกษาก็ไม่แก่เกินวัย และท่านนบีของเรายังได้กำชับให้เราศึกษา ถึงแม้ว่าความรู้นั้นจะอยู่แสนไกล

أُطْلُبُ الْعِلْمِ وَلَوبِالصِّيْنَ

รายงานโดยอานัสความว่า “ จงแสวงหาความรู้เถิด ถึงความรู้นั้นจะอยู่ถึงเมืองจีน”
ท่านนบีส่งเสริมให้ขวนขวายแสวงหาความรู้ ถึงแม้จำต้องเดินทางในดินแดนที่แสนไกลเพื่อให้ได้มาซึ่งการศึกษา เราที่เป็นครูก็เช่นกันความรู้นั้นถึงจะอยู่ไกลแสนไกลแค่ไหนก็ต้องขวนขวายที่จะหาเพื่อที่จะได้เพิ่มพูนความรู้และสอนบรรดาลูกศิษย์ให้เขาได้รู้จักใช้ชีวิตที่ถูกต้อง

ผู้รับชอบไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครูหรือผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย โดยจะต้องจัดการศึกษาให้แก่ทุกคนอย่างเพียงพอกับความต้องการของเขา และเพียงพอกับความต้องการของสังคม ท่านนบีได้สั่งให้แก่พ่อแม่ของเด็กๆว่า

أَكْرَمُوا أَولَادَكُم ,اَحْسَنُوا أَدَبِهِمْ

รายงานโดยอิบนูมาชะฮ์ (رواه ابن ماجه)
ความว่า : พวกเจ้าจงให้เกียรติลูกๆของพวกเจ้า และจงให้การอบรมสั่งสอนที่
เช่นกัน ครู อาจารย์ก็เป็น พ่อแม่คนที่สองของศิษย์ก็จะต้องจัดการศึกษาให้เพียงพอกับศิษย์ทั้งทางโลกและทางธรรมเพื่อเขาจะได้ใช้ชีวิตในสังคมอย่างสมบูรณ์

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บุญคุณต้องตอบแทน

*** ตอบแทนคุณแก่ผู้มีพระคุณ ***


أَحْمَدُهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَى عَلَى مَا مَنَّ عَلَيْنَا وَمَا أَلْهَمَ وَأَشْكُرُهُ عَلَى مَا أَعْطَى وَتَكَرَّمَ وَأَشْهَدُ أَنْ لاَإِلهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَشَرِيْكَ لَهُ شَهَادَةً تُنْجِي قَائِلَهَا مِنْ نَارِ جَهَنَّمَ وَأَشْهَدُ أَنَّ سَيِّدَنَا مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُوْلُهُ سَيِّدُ اْلأُمَمِ اَللّهُمَّ صَلِّ عَلَى سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ وَسَلِّمْ
أَمَّا بَعْدُ فَيَا أَيُّهَا النَّاسُ وَاتَّقُوْا يَوْمًا تُرْجَعُوْنَ فِيْهِ إِلَى اللهِ وَمَنْ يَعْصِ اللهَ وَرَسُوْلَهُ وَيَتَعَدَّ حُدُوْدَهُ يُدْخِلْهُ نَارًا خَالِدًا فِيْهَا وَلَهُ عَذَابٌ مُهِيْنٌ

พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย
“ จงยำเกรงอัลลอฮฺ และจงตอบแทนคุณแก่ผู้มีพระคุณ



พระมหากษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดชมหาราชของเราได้ทรงดำรัสชื่นชมต่อท่านศาสดานบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) เมื่อคราวที่เสด็จไปงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยประจำปี ฮ.ศ. ๑๓๘๔ ไว้ว่า“ท่านนบีมุฮัมมัดผู้เป็นศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม เป็นมหาบุรุษคนหนึ่งได้ทำคุณประโยชน์แก่โลก พระองค์ ท่านสรรเสริญยกย่องความฉลาด ความไตร่ตรองรอบคอบ และความบริสุทธิ์ทั้งใจและกายว่าเป็นหลักสำคัญในการดำเนินชีวิต ฉะนั้นขอให้ท่านทุกคนจงพยายามปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่าน เพื่อจะได้ประสบความสุขความเจริญ”
พระราชดำรัส ของพระมหากษัตริย์ได้แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงพระปรีชาในเกียรติประวัติและจริยานุวัติของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) เป็นอย่างดี สมกับที่พระองค์ทรงเป็นองค์อัคร ศาสนูปถัมภกแก่ทุกศาสนา พระราชกรณียกิจของพระองค์ อันเกี่ยวกับการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลามในประเทศไทยมีมาอย่างยาวนานและมากมาย หลายสาขา สะท้อนถึงพระกรุณาของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์ พระ กรุณาของพระองค์ไม่จำกัดแต่เฉพาะคนศาสนาใด หากได้แผ่ขยายอย่างกว้างไกลไปสู่พสกนิกรไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาโครงการในพระราชดำริของพระองค์ในพื้น ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ได้รับประโยชน์คือพี่น้องมุสลิม ความ กรุณาของพระองค์จะเป็นไปในรูปของวิชาการ หรือวิชาชีพ หรือการพระราชทานโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่พระองค์เสด็จออกเยี่ยมเยียนประชาชนจากเช้าตรู่ถึง ดึกดื่น และพระองค์ไม่ได้แสดงความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่ายต่อการนำน้ำพระราชหฤทัย สู่พสกนิกรด้วยพระราชกรณียกิจดังกล่าว
พระองค์ พระราชทานความสำคัญแก่ผู้นำมุสลิมที่บำเพ็ญประโยชน์ต่อปะชาชนทั่วไปด้วยการ พระราชทานรางวัลเป็นประจำทุกปี จะพระราชทานรางวัลแก่อิหม่ามและครูสอนศาสนาอิสลาม รวมทั้งกรรมการอิสลามในหลายระดับพระราชกรณียกิจและน้ำหทัยของพระองค์ ได้พิสูจน์ถึงความเป็นพระ มหากษัตริย์ที่เพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรมโดยสมบูรณ์แท้จริง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพสกนิกรทุกคน จะต้องตระหนักถึงพระมหากรุณาของพระองค์ไปจนตลอดชีวิต เพราะพระกรุณาของพระองค์นั้นได้ติดต่อยั่งยืนถาวรต่อไปอีกชั่วนิจนิรันดรกาล
การที่ในหลวงได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เรา จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องตอบแทนพระคุณของพระองค์ หรือกล่าวแสดงความกตัญญูขอบคุณต่อพระองค์



ดังหะดีษหนึ่งได้รายงานคำสอนของท่านศาสดานบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) มีเนื้อความว่า

" مَنْ أُعطِيَ عَطَاءً فَوَجَدَ فَلْيُجْزِ بِهِ، وَمَنْ لَمْ يَجِدْ فَلْيُثْنِ فَإِنَّ مَنْ أَثْنَى
فَقَدْ شَكَرَ، وَمَنْ كَتَمَ فَقَدْ كَفَرَ "

“ใครที่มีผู้ให้สิ่งหนึ่งแก่เขาต่อมาเขาได้พบก็จงตอบแทนเขา ถ้าเขาไม่พบก็จงกล่าวสดุดีเขา ดังนั้นใครกล่าวสดุดีเขา แน่นอนเขาได้กตัญญูขอบคุณต่อผู้นั้นแล้ว แต่ถ้าเขาปิดบังไม่ยอมกล่าวสดุดีเขา นั่นคือเขาได้อกตัญญูต่อผู้นั้น” (จากญาบิร อะบูดาวุด ติรมิซี)

คนที่ไม่รู้จักแสดงความกตัญญูและขอบคุณต่อมนุษย์ แสดงว่าเขาไม่เคยมีความกตัญญูต่ออัลลอฮฺตะอาลา ดังหะดีษหนึ่งระบุว่า

" مَنْ لَمْ يَشْكُرِ النَّاسَ لَمْ يَشْكُرِ اللهَ "
“ ผู้ที่ไม่กตัญญูต่อมนุษย์ย่อมไม่กตัญญูต่ออัลลอฮฺ ”
(อะบูดาวุด ติรมีซี)

أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ مَنْ عَمِلَ صَالِحًا فَلِنَفْسِهِ وَمَنْ أَسَاءَ فَعَلَيْهَا وَمَارَبُّكَ بِظَلاَّمٍ لِلْعَبِيْدِ بَارَكَ اللهُ لِيْ وَلَكُمْ وَلِسَائِرِ الْمُسْلِمِيْنَ فَاسْتَغْفِرُوْهُ إِنَّهُ هُوَ الْغَفُوْرُ الرَّحِيْمُ

ขอขอบคุณเวปมัสยิดกามาลุลอิสลาม